
การบริหารค่าจ้างเงินเดือนในยุคปัจจุบันนั้นมีความยากมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีข้อมูลคู่แข่ง และมีข้อมูลการจ่ายค่าจ้างของบริษัทคู่แข่ง และบริษัททั่วไปในตลาดมากขึ้น ทำให้ข้อมูลถึงกันมากขึ้น พนักงานเองก็มีการศึกษาและหาข้อมูลเหล่านี้ก่อนที่จะสมัครงานกับบริษัทต่างๆ ซึ่งทำให้บริษัทจะต้องสร้างวิธีการในการบริหารค่าจ้างเงินเดือนให้เกิดความเป็นธรรม และแข่งขันได้มากขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อดึงดูด และรักษาคนเก่งไว้ให้ทำงานในองค์กร
แต่อย่างไรก็ดี เรื่องของค่าจ้างเงินเดือนนั้นในปัจจุบันมีข้อจำกัดอยู่มากมายในการจ่าย ตลาดมีการแข่งขันกันสูงมาก บางกลุ่มธุรกิจเรียกกว่าจ่ายค่าจ้างเงินเดือนอยู่ในระดับเดียวกันทั้งหมด แทบจะไม่มีความแตกต่างกันเลย ยิ่งไปกว่านั้น การขึ้นเงินเดือนประจำปีตามผลงานก็ขึ้นปีละไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และแต่ละบริษัทก็ขึ้นเงินเดือนในอัตราที่ใกล้เคียงกัน คำถามก็คือ แล้วบริษัทเราจะมีวิธีการอย่างอื่นอีกหรือไม่ในการที่จะดึงดูด และรักษาคนเก่งไว้ให้ทำงานกับบริษัทได้นานๆ เพราะเมื่อไหร่ที่เรามีการปรับค่าจ้าง บริษัทคู่แข่งก็ปรับหนีเราไปอีก ถ้าทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ระบบการจ่ายค่าจ้างในบ้านเราก็จะมีปัญหาอย่างแน่นอน
สิ่งหนึ่งที่องค์กรในบ้านเรายังไม่ค่อยให้ความสำคัญในการนำมาใช้สำหรับดึงดูดและรักษาพนักงาน แต่ในต่างประเทศมีหลายองค์กรที่นำเอาสิ่งเหล่านี้มาใช้ในการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์กรมากขึ้น สิ่งเหล่านี้เราเรียกมันว่า “รางวัลที่ไม่เป็นตัวเงิน” (Nonfinancial Reward)
การทำงานแบบยืดหยุ่น หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกกันว่า Flex time จากผลการวิจัยของ Center for Talent Innovation (CTI) ได้ระบุว่า 87% ของกลุ่ม Baby boomer 79% ของกลุ่ม Gen X และ 89% ของกลุ่ม Gen Y ให้ความสำคัญกับเรื่องของการทำงานแบบยืดหยุ่น โดยเฉพาะกลุ่มคนเก่งๆ ในองค์กรมักจะถูกดึงดูดได้ด้วยโปรแกรมการทำงานแบบยืดหยุ่นของบริษัท ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะสร้างความสมดุลย์ให้กับชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว ลักษณะการทำงานแบบยืดหยุ่นที่นิยมใช้กันมากก็คือการกำหนดเวลา