- ทางฝั่งครอบครัวคุณอาจจะมองว่า..เพราะมีอายุมากกว่า เพราะเป็นญาติของภรรยาจึงถือว่าฝั่งสามีคุณต้องปฏิบัติด้วยความเคารพ มองว่าทางตนเองคิดถูกแล้ว ทำถูกแล้ว โดยไม่รู้อภัย ไม่รู้จักให้ทาน ไม่มีความเมตตา-สงสาร ทะนงตน ถือตน ต้องการให้ทุกอย่างเป็นไปตามที่หวัง-ต้องการตามเจตนารมณ์
- ทางฝั่งสามีคุณ..ชีวิตครอบครัว ความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อมของเขา สอนเขามาให้มีนิสัย ความคิดและการกระทำเป็นอย่างนั้น เขาทะนงตนว่าดีกว่า เก่งกว่า เลิศเลอกว่า ไม่ยอมคน ไม่รู้อ่อนน้อม-ถ่อมตน ไม่รู้ให้เกียรติคนอื่น ไม่พอใจจะกระทำใดๆเพราะคิดว่าตัวทำดีแล้ว ถูกต้องที่สุดแล้ว
ก็เพราะการถือตัวตนของทั้ง 2 ฝ่ายมีอย่างนี้ๆ เป็นเบื้องต้น มันจึงก่อให้เกิดการไม่ลงรูป ลงรอยกันอย่างนี้ ไม่มีใครถูกหรือผิด เหลือแค่ให้ทั้ง 2 ฝ่ายเปิดกว้างในมุมมองการปฏิบัติและคิดใหม่เป็นต้นดังนี้ว่า...
คุณลองชี้ให้ แฟนคุณ และ ครอบครัว ของคุณได้รู้จัก ได้เห็นชอบ และ ประพฤติดังนี้ ย้ำนะต้องบอกทั้ง 2 ฝ่าย
1. ทำสมาธิหลับตา เพื่อให้ใจผ่อนคลาย เบาสบาย
2. รู้จักมี "ทาน" คือหารให้ ให้โดยไม่หวังผลตอบแทน ให้เพราะอยากให้ผู้รับได้ใช้ประโยชน์ และ สุขจากการให้นั้น
การให้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ "ให้อภัย" ที่เราเรียกว่า "อภัยทาน" มีความเอื้อเฟื้อ-โอบอ้อมอารีย์ ต่อคนอื่น
3. รู้จักมีพรหมวิหาร ๔ คือ
3.1. เมตตา หมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
3.2. กรุณา หมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
3.3. มุทิตา หมายถึง ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
3.4. อุเบกขา หมายถึง การรู้จักวางเฉย วางใจกลางๆ
ไม่ยึดมั่นในความพอใจ-ไม่พอใจ
4. รู้จักมีอดทน อ่อนน้อม-ถ่อมตน ให้เกียรติคนอื่น
ไม่ถือตนเองว่าดี ว่าเก่ง ว่าสูงส่ง-เลิศเลอกว่าคนอื่น
5. รู้จักมองย้อนดูข้อบกพร่องของตนเอง
เพื่อจะกระทำให้ดีงามและถูกต้อง
6. รู้จักหยุด และ รู้จักพอ(พอดี พอเพียง)
2. รู้จักมี "ทาน" คือหารให้ ให้โดยไม่หวังผลตอบแทน ให้เพราะอยากให้ผู้รับได้ใช้ประโยชน์ และ สุขจากการให้นั้น
การให้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ "ให้อภัย" ที่เราเรียกว่า "อภัยทาน" มีความเอื้อเฟื้อ-โอบอ้อมอารีย์ ต่อคนอื่น
3. รู้จักมีพรหมวิหาร ๔ คือ
3.1. เมตตา หมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
3.2. กรุณา หมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
3.3. มุทิตา หมายถึง ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
3.4. อุเบกขา หมายถึง การรู้จักวางเฉย วางใจกลางๆ
ไม่ยึดมั่นในความพอใจ-ไม่พอใจ
4. รู้จักมีอดทน อ่อนน้อม-ถ่อมตน ให้เกียรติคนอื่น
ไม่ถือตนเองว่าดี ว่าเก่ง ว่าสูงส่ง-เลิศเลอกว่าคนอื่น
5. รู้จักมองย้อนดูข้อบกพร่องของตนเอง
เพื่อจะกระทำให้ดีงามและถูกต้อง
6. รู้จักหยุด และ รู้จักพอ(พอดี พอเพียง)

- "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! จิตใจที่ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมคือ นินทาสรรเสริญนั้น เป็นจิตใจที่ประเสริฐยิ่ง..
ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่มนุษย์นี้ผู้ใด ฝึกตนให้เป็นคนอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้อื่นได้ จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐสุด ม้าอัศนัย ม้าสินทบ พญาช้าง ตระกูลมหาราชที่ได้รับการฝึกดีแล้ว จัดเป็นสัตว์ที่ประเสริฐ แต่บุคคลที่ฝึกตนดีแล้วยังประเสริฐยิ่งกว่าสัตว์เหล่านั้น"
- "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ผู้อดทนต่อคำกล่าวล่วงเกินของผู้สูงกว่า ก็เพราะความกลัว อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้เสมอกันเพราะเห็นว่าพอสู้กันได้ แต่ผู้ใดอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้ซึ่งด้อยกว่าตนได้ เราเรียกความอดทนนั้นว่าสูงสุด ผู้มีความอดทนมีเมตตา ย่อมเป็นผู้มีลาภ มียศอยู่เป็นสุข เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เปิดประตูแห่งความสุขความสงบได้โดยง่าย สามารถปิดมูลเหตุแห่งการทะเลาะวิวาทเสียได้ คุณธรรมทั้งมวล มีศีลและสมาธิเป็นต้น ย่อมเจริญงอกงามแก่ผู้มีความอดทนทั้งสิ้น
ภิกษุทั้งหลาย ! เมตตากรุณาเป็นพรอันประเสริฐในตัวมนุษย์"
ลองหาวิธีชี้หนทางแก้เพื่อให้ทั้ง 2 ฝ่าย มองเห็น และ คิดพร้อมปฏิบัติที่จะปฏิบัติ แต่ยากเหลือเกิน เพราะต่างฝ่ายต่างคิดในมุมของตัวเอง สำคัญอยู่ที่ตัวกลางคือเราต้องอดทน หา กลยุทธ์ เพื่อให้เกิดความปรองดองกันให้ได้ สำคัญต้องปล่อยเวลาให้ผ่านพ้นไปสักพัก รอให้อะไร อะไร เย็นลง หาทางที่จะปรับ สามีหรือคนของเราต้องคุยให้เข้าใจ และต้องบอกเค้า ต้องให้เค้ารัก พ่อแม่เรา เพราะพ่อและแม่ คือผู้ให้ พ่อแม่เราก็เหมือนกับพ่อแม่เค้า หว่านล้อมให้เกิดความรัก ระหว่างกัน ทำทุกอย่างให้ดีขึ้น ค่อยๆพูดเพื่อให้เข้าใจทีละน้อยๆ ความรักของพ่อแม่คือพรอันประเสริฐ ไม่มีพ่อแม่เราจะเกิดมาไม่ได้ พ่อแม่เลี้ยงเราจนโตเพราะรักเรา ทำจนกว่าจะซึมซับ และต้องอดทน น่าสุดท้ายความพยายามของเราจะประสบผลสำเร็จแน่นอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น