หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

ลักเกลือหนึ่งกำต้องชดใช้หนึ่งเกวียน

เรื่องสั้นการผิดศีล ให้ข้อคิดเรื่องของการปฏิบัติผลของการผิดศีลเรื่องลักขโมย

สมัยหนึ่งมีอุบาสกผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาคนหนึ่ง ได้ปลูกกระท่อมที่เชิงเขาเพื่อใช้เป็นที่บำเพ็ญศีลภาวนาปฏิบัติบำเพ็ญมาได้ 20 กว่าปี ทุกวันนอกจากจะเจริญฌานสมาธิแล้ว เขายังเข้าไปในหมู่บ้านแสดงธรรมโปรดชาวบ้าน ทุกคนต่างยกย่องนับถือว่าเขาเป็นอุบาสกผู้เปี่ยมด้วยคุณธรรมวิเศษ ทุกครั้งที่เขาเข้าฌานสมาบัติ จะปรากฏเป็นรูปธรรมกายนั่งอยู่บนแท่นดอกบัว ล้อมรอบตัวด้วยรังสีสีทองบริสุทธิ์ สดใสระยิบระยับปราศจากรอบด่างแม้แต่น้อย

วันหนึ่งขณะที่อุบาสกกำลังทำอาหารอยู่ เกลือที่จะปรุงรสเกิดหมดพอดีจึงไปขอยืมเพื่อนบ้าน แต่เมื่อไปถึงไม่พบเจ้าของบ้านก็คิดว่าจะขอเอาเกลือไปก่อน เมื่อเจ้าของบ้านกลับมาค่อยบอกก็คงไม่เป็นไร จึงหยิบเกลือหนึ่งกำมือไปปรุงอาหาร หลังจากกินอาหารแล้ว ก็เข้าห้องเจริญญานสมาธิ ขณะอยู่ในสมาธิก็ปรากฏรังสีสีทองในกระแสจิต มีกลุ่มแสงสีดีและดอกบัวก็มีจุดด่างดำเมื่อเล็งดูด้วยทิพยจักษุ ก็ทราบว่ากลุ่มแสงสีดำก็คือกลุ่มเกลือ อุบาสกตกใจตื่นจากสมาธิ รำพึงว่า การเกิดความคิดที่ไม่บริสุทธิ์หยิบเอา

สิ่งของที่ยังไม่มีใครอนุญาต ก็คือลักขโมยอันเป็นการผิดศีล กระแสจิตก็ได้ก่อกรรมชั่วขึ้นแล้ว แม้ว่าจะเป็นเพียงเกลือเล็กน้อยก็ถือว่าจิตใจเกิดความด่างพร้อยแล้ว อุบาสกรู้สึกสำนึกผิดจึงเข้าไปในเมืองซื้อเกลือหนี่งเกวียน นำไปขอขมาเพื่อนบ้าน เพื่อนบ้านกล่าวว่า "เกลือแค่หนึ่งกำ ทำไมต้องเอามาคืนผมมากมาย" อุบาสกกล่าวว่า ผมเอาเกลือของคุณหนี่งกำ คิดทั้งต้นทั้งดอกแล้ว ก็จะมากมายเท่าภูเขาเลยทีเดียว แค่หนึ่งเกวียนไม่นับว่ามากหรอก หลังจากอุบาสกขอขมาเพื่อนบ้านเสร็จ ก็กลับไปบ้านสารภาพบาปเมื่อเข้าฌานสมาธิอีกที กระแสจิตก็สว่างสดใส และดอกบัวก็ปราศจากจุดด่างดำคืนสู่ปรกติเหมือนแต่ก่อน

แหล่งที่มา : http://www.tumsrivichai.com/
ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต



วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

มีชีวิตอยู่เหนือดวง

"ดวงดาวไม่อาจกำหนดชีวิตคนแต่สามารถศึกษาคนได้จากดวงดาว (นิมิตแห่งกรรม) แต่ถ้าจะแก้ไข (ชีวิต)คนให้แก้ทีพฤติกรรมชีวิตของมนุษย์ล้วนเป็น ตาม ดวง เพราะใช้ชีวิตไปตาม กุศลกรรม( บุญ)และอกุศลกรรม (บาปเก่าที่ติดตัวมาและนิสัยเดิมที่สั่งสมมา หลายภพชาติ ซึ่งเรียกว่า จริต ประกอบด้วย
๑. ชอบเอียงไปในทางรักสวยรักงาม เรียกว่า ราคจริต๒. ชอบเอียงไปทางใจร้อนหุนหัน เรียกว่า โทสจริต
๓. ชอบเอียงไปทางหลงลืม ซึมงง เรียกว่า โมหจริต
๔. ชอบเอียงไปทางซาบซึ้ง ศรัทธา เรียกว่า ศัทธาจริต
๕. ชอบเอียงไปทางครุ่นคิด กังวล เรียกว่า วิจกจริต
๖. ชอบเอียงไปทางในทางพิจารณา เรียกว่า พุทธิจริต
กรรมจักรสุวรรณโคมคำ
ชีวิตมนุษย์ถูกกำนดด้วยความเคยชินดังกล่าวเป็นต้นดังที่พระพุทธองค์ทรงสอนว่า" กัมมุนาวัตตตีโลโก - สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม " และทรงสอนไว้อีกว่า "กัมมัง สัตเต วิภชติ - กรรมย่อมจำแนกหมู่สัตว์ให้แตกต่างกัน " ฉะนั้น เราจึงต้องศึกษาเรื่องกรรมให้แจ่งแจ้ง แต่ไม่ใช่เพื่อปล่อยให้เป็นไปตามกรรมหรือยอมแพ้กรรมหากแต่เพื่อ "เอาชนะกรรม" ด้วยกุศลกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา อันหมายถึงการเป็นคนเหนือดวง การเคลื่อนไปแห่งกรรมของสัตว์นั้น ดังนั้น การจะเปลี่ยนแปลงดวงชาตา จึงต้องเปลี่ยนพฤติกรรมให้ได้คือ สร้างกุศลกรรมใหม่ให้แรงกว่าอกุศลกรรมเก่าที่ติดตัวมา จึงจะแก้ไขหรือเบี่ยงเบนชาตาชีวิตได้ เหมือนพระบรมครูสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นแบบอย่างอันยอดเยี่ยมของผู้กระทำพฤติกรรมทางกาย วาจา และใจที่สมบูรณ์ในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน เราจึงสมควรดูพระองค์เป็นแบบอย่างและใช้คำสอนของพระองค์เป็นกรอบในการดำเนินชีวิตที่ดี และแก้ไขพฤติกรรมที่ยังบกพร่องอยู่ให้สมบรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ

วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

กรรม 12 อย่าง

กรรม (กัมม์) คือการกระทำ (action, deed, volition) กรรมต้องมี เจตนาเช่นมีหลักทั่วไปอยู่ว่า “เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ” เรา (ตถาคต) กล่าวว่าการกระทำที่จัดเป็นกรรม ต้องประกอบด้วยเจตนา


กรรม 2
กุศลกรรม กรรมดี/บุญ
อกุศลกรรม กรรมชั่ว/บาป
กรรม 3
กายกรรม (3) คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในประเวณี
วจีกรรม (4) คือ ไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ
มโนกรรม (3) คือ ไม่โลภอยากได้ของเขา ไม่พยาบาทปองร้ายเขา เห็นชอบตามคลองธรรม


กรรม 12 ได้ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล แบ่งเป็น 3 หมวด คือ
กรรมหมวดที่ 1 : กรรมให้ผลตามคราว/ตามเวลา (ปากกาล) มี 4
กรรมหมวดที่ 2 : กรรมให้ผลตามหน้าที่ (ตามกิจ) จำแนก เป็น 4
กรรมหมวดที่ 3 : กรรมให้ผลตามลำดับความแรงของการให้ผล
(ปากทานปริยาย) จำแนกออกไปเป็น 4
กรรมหมวดที่ 1 : กรรมให้ผลตามคราว/ตามเวลา (ปากกาล)
มี 4 คือ
ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในปัจจุบันในชาตินี้ ภพนี้
อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติหน้า/ภพหน้า
อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพต่อ ๆ ไป ในชาติต่อ ๆ ไป กรรมที่ให้ผลชาติที่ 3 เป็นต้นไป
อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล กรรมที่ตามไม่ทัน ไม่ให้ผล ไม่มีผลอีกแล้ว
กรรมหมวดที่ 2 : กรรมให้ผลตามกิจ (โดยกิจ) ให้ผลตามหน้าที่
จำแนกออกไปเป็น 4 มี
ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด กรรมที่เป็นตัวนำให้เกิด
อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน หรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม
อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น กรรมเบียดเบียน กรรมที่มาให้ผลบีบคั้น ผลแห่งชนกกรรม และอุปัตถัมภกกรรม ให้แปรเปลี่ยนทุเลาลงไป บั่นทอนวิบากมิให้เป็นนาน
อุปฆาตกกรรม หรือ อุปเฉทกกรรม กรรมตัดรอน เป็นกรรมที่แรง เป็นกรรมฝ่ายตรงข้าม กับชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรม เข้าตัดรอนผลของกรรมทั้ง 2 นั้น (ชนกกรรม และอุปัตถัมภกกรรม) ให้ขาดไปทีเดียว เช่นเกิดในตระกูลสูง มีความมั่งคั่งแต่อายุสั้น
กรรมหมวดที่ 3 : กรรมที่ให้ผลตามลำดับความแรง แห่งการให้ผลของกรรม
(ปากทานปริยาย) จำแนกออกไปเป็น 4 คือ
1. ครุกรรม กรรมหนัก ให้ผลก่อน กรรมหนักในทางกุศล ได้แก่สมาบัติ 8 กรรมหนักในทางอกุศลได้แก่อนันตริยกรรม 5
2. พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม กรรมที่ทำมากคือทำบ่อยประจำ จนเป็นการชินชา ให้ผลรองลงมาจากครุกรรม
3. อาสันนกรรม คือ กรรมจวนเจียน หรือกรรมที่ใกล้จะตาย (กรรมทำเมื่อจวนจะตาย) จับใจอยู่ใหม่ ๆ ถ้าไม่มีกรรม 2 ข้อต้น (2 ข้อก่อน) คือ ครุกรรม และพหุลกรรม หรืออาจิณณกรรม ก็จะให้ผลก่อน
4. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม กรรมสักแต่ว่าทำ คือกรรมที่ทำด้วยอ่อนเจตนา หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้นโดยตรง ต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผลแล้วกรรมนี้จึงจะให้ผล

วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

ผลแห่งการให้ทาน

วันนี้มีนิทานสอนใจมานำเสนอค่ะ น่าสนใจดีก็เลยนำมาฝากค่ะ เป็นเรื่องสั้นๆ อ่านแล้วได้คิดตามค่ะ

มีสามีภรรยาคู่หนึ่ง ที่มีความตั้งใจในการทำบุญให้ทาน แต่ก่อนมีสามีภรรยาที่ยากจนเข็ญใจคู่หนึ่ง สามีชื่อ อี้หลอ ได้กล่าวกับภรรยาว่า "พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า คนที่เกิดมายากจน ก็เพราะชาติก่อนตระหนี่ แม้จะร่ำรวยมหาศาล แต่ถ้าไม่รู้จักทำบุญให้ทาน ชาติต่อไปก็จะไม่มีวันร่ำรวยอีก ก็เพราะชาติก่อนเราทั้งสองไม่ได้ทำบุญให้ทาน ชาตินี้ถึงได้ลำบากยากจนเช่นนี้"

ภรรยาได้ฟังก็บอกว่า "ใช่แล้ว ฉันก็คิดเช่นนี้ แต่ตอนนี้อาหารสามมื้อเรายังไม่มีจะกิน แล้วจะเอาเงินที่ไหนไปทำบุญให้ทานเล่า?" ผู้หญิงมีหัวคิดไว นางคิดได้วิธีหนึ่งจึงบอกกับสามีว่า เอาตัวฉันไปขายเป็นคนใช้ให้กับคนอื่นก็ได้ เมื่อได้เงินแล้วเธอจะได้ทำบุญ ความคิดนี้เข้าท่าดี แต่สามีสั่นศีรษะ ไม่...ไม่ได้ ขายเธอให้คนอื่น แล้วฉันจะอยู่ต่อไปได้อย่างไร? แม้จะเป็นคู่สามีภรรยาที่ยากจน แต่เขาทั้งสองก็รักใคร่กันมาก ภรรยากล่าวอีกว่า "ถ้าเธอขายฉันไม่ลง งั้นเราทั้งคู่ตัดสินใจเช่นนั้นแล้วก็พากันไปที่บ้านเศรษฐีแจ้งจุดประสงค์ในการมา เศรษฐีก็ยินดีรับไว้ พร้อมกับตกลงราดากัน โดยกำหนดเจ็ดวันให้เขาทั้งสองมีโอกาสไปทำบุญให้ทาน เมื่อครบเจ็ดวันแล้วเขาทั้งสองต้องไปเป็นคนใช้ในบ้านเศรษฐี ครั้นได้เงินมาเขาทั้งสองดีใจมาก ได้ไปที่วัดทำบุญ ถวายอาหารเจแก่พระภิกษุสามเณร ลืมความลำบากชั่วขณะ ตั้งอกตั้งใจบริการแก่มหาชน ด้วยเป็นวันที่มีค่าที่สุดของเขาทั้งสองที่ยังเหลืออยู่ ในเจ็ดวันนี้เขาทั้งสองจะเปลี่ยนแปลงดวงซะตา เพื่อให้ชาติหน้ามีความสุข หกวันผ่านไปแล้ว
 
เมื่อถึงวันสุตท้าย บังเอิญพระราชาก็มาทำบุญที่วัดเช่นกัน ตามหลักเมื่อพระราชามาถึง ทุกคนจะต้องหลีกให้พระองค์ทำก่อน แต่ว่าอี้หลอไม่ยอมหลีก พระราชาเรียกเขาอย่างไม่พอพระทัย อี้หลอมานี่ เมื่ออี้หลออยู่ต่อหน้าพระราชาก็กราบทูลว่า กราบทูลฝ่าบาท ขอพระราชทานอภัยด้วยที่หม่อมฉันไร้มารยาท เนื่องจากมีเพียงวันนี้เท่านั้นที่เป็นของหม่อมฉัน ตั้งแต่พรุ่งนี้เป็นต้นไปหม่อมฉันต้องไปเป็นคนของคนอื่นแล้ว ดังนั้นหม่อมฉันจึงไม่อาจละโอกาสการทำบุญในวันสุดท้ายนี้ พระราชาได้ฟังดังนั้นก็ถามเขาว่า เพราะเหตุใดจึงมาทำบุญที่นี่ แล้วทำไมพรุ่งนี้จึงต้องเป็นคนของคนอื่น ครั้นอี้หลอกราบทูลเรื่องราวอย่างละเอียดแล้ว พระราชาทรงเมตตาสงสาร ทั้งชมเชยเขาว่าไม่ตระหนี่ทรัพย์ ไม่ตระหนี่แรงกาย ดังนั้นจึงทรงพระราชทานเสื้อผ้า เงินทองที่ดิน จำนวนมากแก่เขา

ที่มา : http://www.tumsrivichai.com/
ภาพประกอบ : จากอินเตอร์เน็ต

วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

เวลาของใครถูก ข้อคิดสำหรับผู้นำ

สวัสดีค่ะ ผู้เยี่ยมเชมบล็อก ธรรมะชนะชีวิต สำหรับบล็อกนี้เราจะนำเรื่องของธรรมะดีๆมาฝากผู้ที่มาเยื่ยมชมนะค่ะ และเราก็จะมีผู้เขียนที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องนี้มาเล่า และนำเรื่องดีๆ มาให้ได้อ่านกันด้วยค่ะ ยังไงก็ติดตามกันนะค่ะ แต่วันนี้จะนำธรรมะดีๆ มาเล่าไปพลางๆกันก่อนค่ะ

เวลาของใครถูก ข้อคิดสำหรับผู้นำ 

เวลาของใครถูก ข้อคิดสำหรับผู้นำ เป็นเรื่องสำคัญสำหรับเราถ้าเราจะประสบความสำเร็จ เราต้องทำตามและเลียนแบบ ผู้นำที่ถูกต้อง เราควรจะมีผู้นำที่เป็นแบบอย่างซึ่งมีลักษณะที่ดี มีคุณค่ามีความน่าเชื่อถือ เรื่องสั้นส่งเสริมด้านคุณธรรม

     มีชายหัวหน้าคนงานคนหนึ่งทำงานที่โรงงาน ทุกเช้าระหว่างทางที่เขาไปทำงาน เขาก็จะผ่านร้านขายนาฬิกา เขาก็จะหยุดที่ร้านและตั้งเวลาที่นาฬิกาข้อมือของเขาและเดินต่อไปเพื่อไปทำ งาน เขาทำเช่นนี้ทุกๆวัน เจ้าของร้านนาฬิกาก็สงสัยอยากรู้ว่าทำไมเป็นเช่นนั้น วันหนึ่งเมื่อชายคนนั้นมาหยุดที่หน้าร้าน เขาก็เลยถามว่า เขาทำอะไรน่ะ ชายหัวหน้าคนงานตอบว่าเขาเป็นหัวหน้าคนงานของโรงงานแห่งหนึ่งทุกๆวันเขาก็จะต้องทำหน้าที่ในการ สั่นกระดิ่งเพื่อให้สัญญานบอกว่า ถึงเวลา 5 โมงเย็นเป็นเวลาเลิกงานของวันนั้นแล้ว เขาต้องการความเที่ยงตรงในเวลานั้นมาก ดังนั้นทุกๆ วัน เขาก็จึงต้องมาที่นาฬิกาเรือนใหญ่ของร้านนี้และปรับเวลาที่นาฬิกาข้อมือของเขาให้ตรงกับนาฬิกาเรือนนี้ เจ้าของร้านนาฬิกาก็หัวเราะและพูดว่า จริงๆแล้วเมื่อผมได้ยินสัญญาณจากโรงงาน ผมก็รีบกลับไปตั้งเวลาของผมเช่นกัน
นิทานเรื่องสั้นสอนใจ คำคมสอนใจ : เป็นเรื่องสำคัญสำหรับเราถ้าเราจะประสบความสำเร็จ เราต้องทำตามและเลียนแบบ ผู้นำที่ถูกต้อง เราควรจะมีผู้นำที่เป็นแบบอย่าง ซึ่งมีลักษณะที่ดี มีคุณค่ามีความน่าเชื่อถือ มิฉะนั้นแล้วแม้ว่าเราอาจไปยัง จุดสูงสุดของบันไดก็ตาม แต่ก็มาตระหนักทีหลังว่าเราอยู่บนบันไดที่ผิด

แหล่งที่มา : http://www.tumsrivichai.com/
ภาพ : อินเตอร์เน็ต