หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

กรรม 12 อย่าง

กรรม (กัมม์) คือการกระทำ (action, deed, volition) กรรมต้องมี เจตนาเช่นมีหลักทั่วไปอยู่ว่า “เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ” เรา (ตถาคต) กล่าวว่าการกระทำที่จัดเป็นกรรม ต้องประกอบด้วยเจตนา


กรรม 2
กุศลกรรม กรรมดี/บุญ
อกุศลกรรม กรรมชั่ว/บาป
กรรม 3
กายกรรม (3) คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในประเวณี
วจีกรรม (4) คือ ไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ
มโนกรรม (3) คือ ไม่โลภอยากได้ของเขา ไม่พยาบาทปองร้ายเขา เห็นชอบตามคลองธรรม


กรรม 12 ได้ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล แบ่งเป็น 3 หมวด คือ
กรรมหมวดที่ 1 : กรรมให้ผลตามคราว/ตามเวลา (ปากกาล) มี 4
กรรมหมวดที่ 2 : กรรมให้ผลตามหน้าที่ (ตามกิจ) จำแนก เป็น 4
กรรมหมวดที่ 3 : กรรมให้ผลตามลำดับความแรงของการให้ผล
(ปากทานปริยาย) จำแนกออกไปเป็น 4
กรรมหมวดที่ 1 : กรรมให้ผลตามคราว/ตามเวลา (ปากกาล)
มี 4 คือ
ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในปัจจุบันในชาตินี้ ภพนี้
อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติหน้า/ภพหน้า
อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพต่อ ๆ ไป ในชาติต่อ ๆ ไป กรรมที่ให้ผลชาติที่ 3 เป็นต้นไป
อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล กรรมที่ตามไม่ทัน ไม่ให้ผล ไม่มีผลอีกแล้ว
กรรมหมวดที่ 2 : กรรมให้ผลตามกิจ (โดยกิจ) ให้ผลตามหน้าที่
จำแนกออกไปเป็น 4 มี
ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด กรรมที่เป็นตัวนำให้เกิด
อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน หรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม
อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น กรรมเบียดเบียน กรรมที่มาให้ผลบีบคั้น ผลแห่งชนกกรรม และอุปัตถัมภกกรรม ให้แปรเปลี่ยนทุเลาลงไป บั่นทอนวิบากมิให้เป็นนาน
อุปฆาตกกรรม หรือ อุปเฉทกกรรม กรรมตัดรอน เป็นกรรมที่แรง เป็นกรรมฝ่ายตรงข้าม กับชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรม เข้าตัดรอนผลของกรรมทั้ง 2 นั้น (ชนกกรรม และอุปัตถัมภกกรรม) ให้ขาดไปทีเดียว เช่นเกิดในตระกูลสูง มีความมั่งคั่งแต่อายุสั้น
กรรมหมวดที่ 3 : กรรมที่ให้ผลตามลำดับความแรง แห่งการให้ผลของกรรม
(ปากทานปริยาย) จำแนกออกไปเป็น 4 คือ
1. ครุกรรม กรรมหนัก ให้ผลก่อน กรรมหนักในทางกุศล ได้แก่สมาบัติ 8 กรรมหนักในทางอกุศลได้แก่อนันตริยกรรม 5
2. พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม กรรมที่ทำมากคือทำบ่อยประจำ จนเป็นการชินชา ให้ผลรองลงมาจากครุกรรม
3. อาสันนกรรม คือ กรรมจวนเจียน หรือกรรมที่ใกล้จะตาย (กรรมทำเมื่อจวนจะตาย) จับใจอยู่ใหม่ ๆ ถ้าไม่มีกรรม 2 ข้อต้น (2 ข้อก่อน) คือ ครุกรรม และพหุลกรรม หรืออาจิณณกรรม ก็จะให้ผลก่อน
4. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม กรรมสักแต่ว่าทำ คือกรรมที่ทำด้วยอ่อนเจตนา หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้นโดยตรง ต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผลแล้วกรรมนี้จึงจะให้ผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น